Cute Unicorn

วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561

 อ.จ๋าสอนเรื่องความรู้ทางคณิตศาสาตร์ตามหลักของเพียเจทท์และหลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย    

  สรุปได้ว่า เพียเจท์แบ่งความรู้ทางคณิตศาสตร์ตามพัฒนาการเป็น 2 ชนิด 1. ความรู้ทางด้านกายภาพ             2. ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์   

 ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ ตัวอย่างกิจกรรม เท่าไหรเอ่ย? ให้เด็กช่วยกันนับจำนวนเช่น นับจำนวนเพื่อนในห้อ

2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเล่นขายของ

3. การจับคู่ ตัวอย่างกิจกรรมภาพเหมือนโดนภาพอาจจะเป็นตัวเลขก็ได้

4. การจัดประเภท ตัวอย่างกิจกรรมฉันลูกใคร? เช่นหมวดอวัยวะก็ให้เด็กบอกว่าอวัยวะในร่างกายมีอะไรบ้าง ตา หู จมูก ปาก

5. การเปรียบเทียบ ตัวอย่างกิจกรรมฉัน..กว่า ให้เด็กสองคนเปรียบเทียบว่าตนเอง..กว่า อ้วนกว่า สูงกว่า สวยกว่า    

6. การจัดลำดับตัวอย่างกิจกรรมจัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาว

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ 

8. การวัดให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก                                                   

 9. เซต ตัวอย่างรองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต     

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด 

 11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์  

 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 

 หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1. เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม
1.1 ขั้นใช้ของจริง 
(ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมการนับจำนวนสิ่งของจากของจริงเช่น ดินสอ ยางลบ )
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
(ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมทายซิเลขอะไรเอ่ย? นำรูปภาพที่เป็นตัวเลขมาให้เด็กๆทาย )
1.3 ขั้นกิึ่งรูปภาพ
(ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมคณิตคิดในใจ สมมุติสิ่งของแทนจำนวนตัวเลขให้เด็กๆคิดตาม )
1.4 ขั้นนามธรรม
(ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมบวกลบเลข เริ่มเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ทอดแทรกในการเรียน )
2.เริ่มจากสิ่งง่ายๆและค่อยไปยาก
(ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมคณิตคิดไว ในเด็กบวกเลขจากตัวเลขที่บวกลบง่ายที่สุดปละเพิ่มจำนวนให้ยากขึ้น )
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
(ตัวอย่างกิจกรรม เล่าส่กันฟัง ครูเล่านิทานพร้อมทอดแทรกวิชาคณิตศาสตร์ไปด้วยเช่นการเล่านิทานพร้อมกับมีการนับจำนวนสิ่งของหรือในเนื้อเรื่องมีการบวกลบจำนวน เช่น คุณยายมีแอปเปิ้ล 3 ลูกแบ่งให้หนูน้อยหมวกแดงไป 2 ลูกเหลือกี่ลูกทั้งที่ครูต้องช่วยเด็กด้วยเพราะอาจจะยากสำหรับเด็กปฐมวัย )
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
(ตัวอย่างกิจกรรม การนับเงินจากกระเป๋าตังค์ของเด็กเอง , การนับจำนวนเพื่อนของตนเองในห้องเรียน
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกและได้ความรู้ไปด้วย
(ตัวอย่างกิจกรรม ร้องเล่นเต้นนับ ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับจำนวน , การเล่นมุมต่างๆ เล่นขายของ , เล่นเกมส์การศึกษาเช่น การต่อภาพ เรียงลำดับตัวเลข )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น